วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

...ยินดีต้อนรับครับ...

ตัวชี้วัด

-ใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน(ง 3.1 ม.2/24)

สาระการเรียนรู้แกนกลาง

-ซอฟต์แวร์ระบบประกอบด้วยระบบปฎิบัติการ โปรแกรมแปลภาษา และโปรแกรมอรรถประโยชน์
-ซอฟต์แวร์ประยุกต์ประกอบด้วยซอฟต์ประยุกต์ทั่วไป และซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
-ใช้ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน เช่น บีบอัด ขยาย โอนย้ายข้อมูล ตรวจสอบไวรัสคอมพิวเตอร์       
-ใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน ฯลฯ
ซอฟต์เเวร์เเละการเลือกใช้
      ปัจจุบันคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เช่น การพิมพ์รายงาน ตกแต่งภาพ ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการด้วยคอมพิวเตอร์นี้ จำเป็นต้องใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นส่วนสำคัญที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้ดำเนินการตามแนวความคิดที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้วซึ่งคอมพิวเตอร์จะต้องทำงานตามโปรแกรมเท่านั้น ไม่สามารถทำงานนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในโปรแกรมได้ ดังนั้นการศึกษาเกกี่ยวกับซอฟต์แวร์จึงมีความสำคัญต่อการทำงานด้วนคอมพิวเตอร์

1.ความหมายและความสำคัญของซอฟต์แวร์

        ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึง ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยภาษาของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้ อ่านเพิ่มเติม

2.ประเภทของซอฟต์แวร์


ประเภทของซอฟต์แวร์  ซอฟต์แวร์จะแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ประเภท คือ

1.  ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2.  ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software)

2.1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System software)   คือ  ซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตเป็นคนสร้างเพื่อให้จัดการกับระบบหน้าที่การทำงานพื้นฐานต่างๆ ของรับบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแป้นอักขระ แล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ จากนั้นนำข้อมูลไปแสดงผลบนภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ การจัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำ เป็นต้น 

2.2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (application software) คือ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับการทำงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถ นำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่างๆ ออกจำหน่าย การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย อาจแบ่ง ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นสองกลุ่ม คือซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้เฉพาะงาน  ซึ่งปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นต้น  อ่านเพิ่มเติม
3)ซอฟต์แวร์ระบบช่วยในการทำงาน
3.1)ระบบปฎิบัติการ(Operating System:OS)เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีฑียู หน่วยความจำ ไปจนถึงหน่วยนำเข้าและส่งออก บางครั้งนิยมเรียกรวมๆว่า เเพลตฟอร์ม
3.2)โปรแกรมแปลภาษาคอมพิวเตอร์(Translator) ในการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผู้เขียนโปรแกรมหรือที่เรียกว่าโปรแกรมเมอร์นั้น จะเลือกใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะงานและความถนัด ของผู้เขียนโปรแกรม โปรแกรมที่เขียนขึ้นหรือที่เรียกว่าโปรแกรมต้นฉบับ จึงมีลักษณะโครงสร้างของภาษาที่แตกต่างกันออกไป อ่านเพิ่มเติม

3.3)โปรแกรมอรรถประโยชน์ (utility program/software) เรียกสั้นๆ ว่า ยูทิลิตี เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการ ส่วนมากใช้เพื่อบำรุงรักษาและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของคอมพิวเตอร์ คุณสมบัติการใช้งานนั้นค่อนข้างหลากหลาย อ่านเพิ่มเติม
3.3.1)โปรแกรมอรรถประโยชน์สำหรับระบบปฏิบัติการ(OS utility programs) เป็นโปรเเกรมอรรถประโยชน์ที่มักมีการติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการอยู่เเล้ว ซึ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ อ่านเพิ่มเติม

3.3.2)โปรเเกรมอรรถประโยชน์อื่นๆ(stand alone utility program) เป็นโปรเเกรมที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ่านเพิ่มเติม

4.ซอฟต์แวร์ประยุกต์ช่วยในการทำงาน

          ซอฟต์แวร์ประยุกต์(application software)  เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงานฯลฯ
4.1)ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป
          ในบรรดาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่มีใช้กันทั่วไป คือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ (package) ซึ่งซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กันสูงมาก ซอฟต์แวร์สำเร็จเป็นซอฟต์แวร์ที่บริษัทพัฒนาขึ้นแล้วนำออกมาจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยตรง ไม่ต้องเสียเวลาในการพัฒนาซอฟต์แวร์อีก ซอฟต์แวร์สำเร็จที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป อ่านเพิ่มเติม


4.2)ซอฟต์แวร์ประยุกต์เฉพาะงาน
     ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะมักเป็นซอฟต์แวร์ที่ผู้พัฒนาต้องเข้าไปศึกษารูปแบบการทำงานหรือความต้องการของธุรกิจนั้นๆ แล้วจัดทำขึ้น โดยทั่วไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่มีหลายส่วนรวมกันเพื่อร่วมกันทำงาน ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะที่ใช้กันในทางธุรกิจ เช่น ระบบงานทางด้านบัญชี ระบบงานจัดจำหน่าย ระบบงานในโรงงานอุตสาหกรรม บริหารการเงิน และการเช่าซื้อ เป็นต้น  

ขอบคุณที่มารับชมนะครับ